อาคารเสนาสนะ ของ วัดอัมพวัน (จังหวัดนครนายก)

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถก่ออิฐถือปูน ยาว 20.50 เมตร กว้าง 9 เมตร ขนาดห้าห้อง หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง[3] อยู่ภายในกำแพงแก้วสูง 50 เซนติเมตร มีมุขด้านหน้าหรือด้านตะวันออกและด้านหลังหรือด้านตะวันตก มุขทั้งสองมีเสาขนาดใหญ่รองรับมุขละสี่ต้น เป็นเสาย่อมุม ผนังด้านข้างรับน้ำหนักหลังคาโบสถ์ ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ เจดีย์รายเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน ส่วนยอดชำรุด ฐานกว้างประมาณ 2 เมตร สูง 3 เมตร

หอระฆัง (เก่า) เป็นเครื่องไม้ สูง 6 เมตร กว้างด้านละประมาณ 2 เมตร เครื่องบนหลังคามุงกระเบื้อง หางหงส์ หน้าบันแกะสลักเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ ศาลาการเปรียญเป็นอาคารเครื่องไม้ มุงกระเบื้องขนาดกว้างประมาณ 16 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร อาคารยกพื้นสูงหนึ่งชั้น ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นเครื่องไม้หน้าบันแกะสลักรูปพระพุทธรูป

หมู่กุฎิเรือนไทย เป็นเรือนไทยขนาดสามห้อง หลังคามุงกระเบื้องว่าว ปั้นลมเป็นไม้ หน้าบันแบบใบปรือ ตัวเรือนยกพื้นสูง กุฎิเรือนแพ เดิมเป็นเรือนแพอยู่ในกรุงเก่า ได้ถวายแก่วัดอัมพวัน เมื่อ พ.ศ. 2451 เพื่อทำเป็นกุฎิ โดยปล่อยส่วนที่รับน้ำหนักแพให้จมลง และใช้อิฐก่อเป็นเสาตั้งรับบแทน เป็นเรือนแพแฝด หน้าบันแบบใบปรือเช่นเดียวกับหมู่กุฎิเรือนไทย ฝาผนังแพด้านนอกเป็นแบบฝาถัง วางตามขวาง[4]

ใกล้เคียง

วัดอัมพวัน วัดอัมพวัน (จังหวัดสิงห์บุรี) วัดอัมพวันเจติยาราม วัดอัมพวัน (จังหวัดลพบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดนครนายก) วัดอัมพวัน (กรุงเทพมหานคร) วัดอัมพวัน (จังหวัดนนทบุรี) วัดอัมพวัน (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดอัมพวัน ก.ม. 7